โคเอนไซม์ Q10 มีโครงสร้างคล้ายกับวิตามินเคและวิตามินอี อย่างไรก็ตามโคเอนไซ์ Q10 ไม่ใช่สารอาหารที่จำเป็น (ที่ต้องได้รับจากอาหาร) หรือวิตามิน เนื่องจากสารนี้ผลิตได้ในปริมาณเพียงพอ โดยสิ่งมีชีวิตที่มีสุขภาพดีเอง สารนี้สามารถสร้างขึ้นในสิ่งมีชีวิตของมนุษย์ เช่น ได้จากฟีนิลอะลานินหรือไทโรซีนและกรดเมลาโลนิก ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณที่เพียงพอพร้อมกับการทำงานปกติและอาหารที่หลากหลายและสมดุล
ทางแห่งความสุข
สวดมนต์เสริมพลังจิต
วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2568
โคเอนไซม์ Q10 คืออะไร
โคเอนไซม์ Q10 (หรือยูบิควิโนน Q10) เป็นหนึ่งในยูบิควิโนนที่พบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานของไมโตคอนเดรียในระบบการหายใจ
โคเอนไซม์ Q!0 จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?
โคเอนไซม์ Q10 เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเผาผลาญ มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเผาผลาญพลังงานในไมโตคอนเดรียของเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ในฐานะสารต้านอนุมูลอิสระมันยังสามารถปกป้องเยื้อหุ้มเซลล์จากความเสียหาย ออกจากออกซิเดชั่น ที่เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า"อนุมูลอิสระ" ได้อีกด้วย
สารเหล่านี้เป็นสารที่มีปฏิกิริยาสูงมาก ซึ่งสามารถทำลายเซลล์และเนื้อเยื้อได้ เนื้อเยื้อที่มีความต้องการพลังงานสูง เช่น หัวใจ ตับ ไตและกล้ามเนื้อ จะมีระดับโคเอนไซม์สูงเป็นพิเษ
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568
อาหาร 3 ชนิด ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค 4 ชนิดที่ร้ายแรงได้
การวิจัยเผย อาหาร 3 ชนิด ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเมตาบอลิกซินโดรม
มีข่าวดีสำหรับผู้ที่ชอบช็อคโกแลตและไวน์ ตามงานวิจัยพบว่าโพลีฟินอลมีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแฟรงค์เฟิร์ต,ประเทศเยอรมนี คาดว่ามีประชากรในประเทศเยอรมนีระมาณ 15ล้านคนได้ได้รับผลกระทบจากโรคเมตาบอลิกซินโดรม ภาพทางคลีนิกของความเสี่ยงทางโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรค 4 ชนิดที่เสี่ยงอันตรายเรียกว่า "4 อันตราย" ได้แก่ โรคไขมันน้าท้อง โรคน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง ปัจจัยแต่ละอย่างก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและระบบไหลเวียนของโลหิต
ตามารศึกษาวิจัยของประเทศบราซิล พบว่าการรับประทานอาหารที่มีโพลิฟีนอลสูงสามารถลดความเสี่ยงของโรคเมตาบอลิกซินโดรมได้ถึง23 เปอร์เซนต์
"deadline Quartet" ไวน์ ช็อกโกแลต และผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเมตาบอลิกซินโดรมได้ ตามการศึกษา
นี่เป็นข่าวดีสำหับผู้ที่ชอบผลไม้ ช็อกโกแลต กาแฟและไวน์ ซึ่งล้วนอุดมไปด้วยโพลีฟีนอล
อิซาเบลา เบนเซนเนอร์ จากมหาวิทยาลัยซาเปาโลและผู้เขียนร่วมผลการศึกษากล่าวในแถลงการณ์ว่า นักวิทยาศาสตร์และทีมงานของเขาได้ตรวจสอบข้อมูลจากชาวบาซิลมากว่า 6000 คน นักวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานอาหารผลไม้ เช่น องุ่น
สตอร์เบอรี่ ส้ม ช็อกโกแลตและกาแฟ เป็นหลักจะลดความเสี่ยงกับการเป็นโรคเมตาบอลิกซินโดรม
Bensenor กล่าวว่าพบผลลัพธ์ที่คล้ายกันในงานวิจัยก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการ ไม่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากขนาดนี้และมีระยะเวลาการสังเกตนานขนาดนี้
บทความนี้แปลจาก Frankfurt Rundchau 06.03.2025
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)