เมื่อศตวรรษที่ ๑๖ ชาวสเปญได้เป็นผู้นำ Paprika จากประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เข้ามาปลูกในประเทศสเปญ...ปัจจุบันนี้สามารถปลูกได้ทุกทวีปในพื้นที่ที่มีแดดอบอุ่น Paprika เป็นพืชที่ชอบแสงอาทิตย์มาก เป็นพริกชนิดหนึ่งที่มีรสไม่เผ็ดเหมือนพริกอื่น ๆ โดยเฉพาะบางชนิดมีรสหวาน Paprika ขึ้นวางกับพื้นดินไม่ห้อยติดต้นเหมือนพริกชนิดอื่น ๆ เป็นที่นิยมมากในตลาดยุโรป...ปลูกมากที่สุดในประเทศอิตาลี, ฮังการี, ฝรั่งเศสตอนใต้, รูเมเนีย, อิสราเอล, กรีก, แซเบียน, เยอรมัน....
ประเทศเยอรมันเริ่มรู้จัก Papritka เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยนั้นมีชนิดพริกสีเหลืองปนสีเขียวและพริกสีแดงปนสีเขียว ยังไม่มีพริกสีเหลืองและสีแดงล้วน ๆ มีขายทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์คตลอดปี......
Paprika หรือพริกใหญ่ มีประโยชน์มาก....พริกใหญ่น้ำหนัก ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซีถึง ๔๐๐ มิลลิกรัม เป็นพืชผักที่มีวิตามินซีมากที่สุด เรียกว่า "Vitaminbombe" โดยเฉพาะพริกใหญ่สีเขียวที่แก่เต็มที่แล้ว มีวิตามินซีมากที่สุด ส่วนสีแดงและสีเหลืองมีวิตามินน้อยกว่า
.....ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๓๒ Professor Albert Szent Gyorgyi ชาวฮังการี ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัย Szegediner ประเทศฮังการี ได้เป็นผู้ค้นพบวิตามินซีเป็นครั้งแรก....เขาเป็นนักศึกษาค้นคว้าด้านพืชผักแห่งชาติ ได้ค้นพบว่า Paprika สีแดงมีวิตามินซีมากที่สุด......ในปี ค.ศ. ๑๙๓๗ เขาได้รับรางวัล "Nobel" เพราะผลงานนี้ และก่อนหน้านั้นเขาได้ให้สัญลักษณ์ของธาตุสารอาหารใน Paprika ว่า "Vitamin P"
ต่อมาในปัจจุบันนี้ คนรู้จักในนามของ "Bio flavonoide + Rutin" ช่วยละลายสิ่งที่ตกค้างในเส้นเลือด...ทำให้ Kapillaren (เส้นเลือดฝอย) บางลงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ....Paprika สีแดง ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซี ๓๐๐ มิลลิกรัม, Paprika สีเขียว ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซีเพียง ๑๔๐ มิลลิกรัม....และยังมีชนิดที่มีลักษณะเหมือนมะเขือเทศเนื้อ เรียกว่า "Tomaten Paprika" มีรสเผ็ดปนหวานนิด ๆ มีวิตามินซีมากเช่นกัน .....ส่วนที่ทำให้มีรสเผ็ดคือ เมล็ดและผิวของเปลือกด้านนอกของมัน ชนิดมีรสเผ็ดนิด ๆ เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก เพราะช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ทำให้เส้นเลือดเปิดและเลือดเดินได้สะดวก นอกจากนั้นยังช่วยในการปรับระดับ ความดันของโลหิตอีกด้วย....บางชนิดเผ็ดมากจะช่วยขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ทำให้น้ำตาไหล น้ำมูกไหล....Paprika สีแดงทำให้เจริญอาหารด้วย เพราะความเผ็ดของมัน ทำให้ร่างกายต้องการน้ำมากกว่าปรกติ จึงทำให้ร่างกายมีน้ำชุ่มชื่น มีน้ำไปหล่อเลี้ยงเยื้อผิวอ่อนภายใน และช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นด้วย
Paprika สีแดงมี Beta-Karotine มากกว่าชนิดอื่น และมีคุณสมบัติป้องกันโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังรักษาโรคเยื้อผิวหนังอักเสบ เช่น แผลในปาก.....Beta-Karotine ผลิตวิตามินเอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนเพศ และทำให้มีสมรรถภาพในด้านเพศสัมพันธ์....ใน Paprika มี Selen โดยเฉพาะ Coenzym Q10 ซึ่งปัจจุบันทางเภสัชกรรมใช้ทำเป็นลักษณะแคปซูลจำหน่ายราคาแพงมาก.....Paprika ยังช่วยคลายเครียด, แก้ปวดกล้ามเนื้อและปวดตามข้อต่าง ๆ ได้ด้วย
วิธีบริโภค Paprika สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร จะมีความรู้สึกไวต่อปฏิกิริยาเกี่ยวกับพืชผักบางชนิดที่มีเปลือก ดังนั้นก่อนรับประทานควรปลอกเปลือกแล้วชิมดูก่อน.....วิธีปลอกเปลือกที่ง่ายมากคือ ผ่า Paprika ออกเป็น ๔ ส่วน วางคว่ำลงบนถาด แล้วนำไปอบในเตาอบ ใช้เวลาพอประมาณ จนบางส่วนดำนิดหน่อย (เปลือก) และพองขึ้นมา จากนั้นจึงนำไปแช่น้ำเย็นสักครู่ แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งจึงปลอกเปลือกออกได้.....Paprika สดเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง ๒ สัปดาห์ แต่ต้องไม่เย็นเกิน เพราะว่าความเย็นจัด จะทำให้สูญเสียคุณภาพได้
แปลจากหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและการบริโภคอาหารเพื่อสุขาภาพ เขียนโดย Claudia Tebel-Nagy
ประเทศเยอรมันเริ่มรู้จัก Papritka เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยนั้นมีชนิดพริกสีเหลืองปนสีเขียวและพริกสีแดงปนสีเขียว ยังไม่มีพริกสีเหลืองและสีแดงล้วน ๆ มีขายทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์คตลอดปี......
Paprika หรือพริกใหญ่ มีประโยชน์มาก....พริกใหญ่น้ำหนัก ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซีถึง ๔๐๐ มิลลิกรัม เป็นพืชผักที่มีวิตามินซีมากที่สุด เรียกว่า "Vitaminbombe" โดยเฉพาะพริกใหญ่สีเขียวที่แก่เต็มที่แล้ว มีวิตามินซีมากที่สุด ส่วนสีแดงและสีเหลืองมีวิตามินน้อยกว่า
.....ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๓๒ Professor Albert Szent Gyorgyi ชาวฮังการี ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัย Szegediner ประเทศฮังการี ได้เป็นผู้ค้นพบวิตามินซีเป็นครั้งแรก....เขาเป็นนักศึกษาค้นคว้าด้านพืชผักแห่งชาติ ได้ค้นพบว่า Paprika สีแดงมีวิตามินซีมากที่สุด......ในปี ค.ศ. ๑๙๓๗ เขาได้รับรางวัล "Nobel" เพราะผลงานนี้ และก่อนหน้านั้นเขาได้ให้สัญลักษณ์ของธาตุสารอาหารใน Paprika ว่า "Vitamin P"
ต่อมาในปัจจุบันนี้ คนรู้จักในนามของ "Bio flavonoide + Rutin" ช่วยละลายสิ่งที่ตกค้างในเส้นเลือด...ทำให้ Kapillaren (เส้นเลือดฝอย) บางลงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ....Paprika สีแดง ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซี ๓๐๐ มิลลิกรัม, Paprika สีเขียว ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซีเพียง ๑๔๐ มิลลิกรัม....และยังมีชนิดที่มีลักษณะเหมือนมะเขือเทศเนื้อ เรียกว่า "Tomaten Paprika" มีรสเผ็ดปนหวานนิด ๆ มีวิตามินซีมากเช่นกัน .....ส่วนที่ทำให้มีรสเผ็ดคือ เมล็ดและผิวของเปลือกด้านนอกของมัน ชนิดมีรสเผ็ดนิด ๆ เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก เพราะช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ทำให้เส้นเลือดเปิดและเลือดเดินได้สะดวก นอกจากนั้นยังช่วยในการปรับระดับ ความดันของโลหิตอีกด้วย....บางชนิดเผ็ดมากจะช่วยขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ทำให้น้ำตาไหล น้ำมูกไหล....Paprika สีแดงทำให้เจริญอาหารด้วย เพราะความเผ็ดของมัน ทำให้ร่างกายต้องการน้ำมากกว่าปรกติ จึงทำให้ร่างกายมีน้ำชุ่มชื่น มีน้ำไปหล่อเลี้ยงเยื้อผิวอ่อนภายใน และช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นด้วย
Paprika สีแดงมี Beta-Karotine มากกว่าชนิดอื่น และมีคุณสมบัติป้องกันโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังรักษาโรคเยื้อผิวหนังอักเสบ เช่น แผลในปาก.....Beta-Karotine ผลิตวิตามินเอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนเพศ และทำให้มีสมรรถภาพในด้านเพศสัมพันธ์....ใน Paprika มี Selen โดยเฉพาะ Coenzym Q10 ซึ่งปัจจุบันทางเภสัชกรรมใช้ทำเป็นลักษณะแคปซูลจำหน่ายราคาแพงมาก.....Paprika ยังช่วยคลายเครียด, แก้ปวดกล้ามเนื้อและปวดตามข้อต่าง ๆ ได้ด้วย
วิธีบริโภค Paprika สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร จะมีความรู้สึกไวต่อปฏิกิริยาเกี่ยวกับพืชผักบางชนิดที่มีเปลือก ดังนั้นก่อนรับประทานควรปลอกเปลือกแล้วชิมดูก่อน.....วิธีปลอกเปลือกที่ง่ายมากคือ ผ่า Paprika ออกเป็น ๔ ส่วน วางคว่ำลงบนถาด แล้วนำไปอบในเตาอบ ใช้เวลาพอประมาณ จนบางส่วนดำนิดหน่อย (เปลือก) และพองขึ้นมา จากนั้นจึงนำไปแช่น้ำเย็นสักครู่ แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งจึงปลอกเปลือกออกได้.....Paprika สดเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง ๒ สัปดาห์ แต่ต้องไม่เย็นเกิน เพราะว่าความเย็นจัด จะทำให้สูญเสียคุณภาพได้
แปลจากหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและการบริโภคอาหารเพื่อสุขาภาพ เขียนโดย Claudia Tebel-Nagy